วันครูแห่งชาติ
วันครูปีนี้ตรงกับวันพุธ ที่ 16 มกราคม
พุทธศักราช 2556
วันครู 16 มกราคมของทุกปี
ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา
ข้าฯขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์
ผู้กอร์ปเกิดประโยชน์ศึกษา
อีกทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าฯ ขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ข้าฯ และประเทศไทยเทอญ
คำปฏิญาณตน
เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์
เรานักเรียน จักต้องประพฤติตน
ให้อยู่ในระเบียบวินัย ของโรงเรียน
เรานักเรียน จักต้องไม่ทำตน
ให้เป็นที่เดือดร้อน แก่ตนเอง และผู้อื่น
ประวัติความเป็นมาของวันครู
มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500
สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488
ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า
คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา
โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความ
เห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา
ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู
จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร
ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญ คุรุสภาประจำปี
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา
และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของ
คุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบ
ข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์
หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. 2499
ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์
ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือ
ว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมี บุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย
ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย
เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์
เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน
คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่ แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น
ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู
ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ
ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก
ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติ เห็น
ควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า
เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครู
กับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21
พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16
มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย
เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16
มกราคม พ.ศ. 2488
เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้
วันครูทางพระพุทธศาสนา คือวันอะไร
ถ้าเราถือว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นเป็นบรมครูของเรา
วันที่เนื่องด้วยพระองค์ก็คือวันวิสาขะบูชา ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
จะถือวันนี้ก็คงจะได้ เราไม่ได้มีการกำหนดตายตัวหรอก แต่ถือวันนี้ก็ได้เหมือนกัน
หรือว่าบางท่านอาจจะถือว่าพระธรรมเป็นใหญ่ ก็อาจจะถือวันที่พระองค์แสดงธรรมครั้งแรก
ก็คือวันอาสาฬหะบูชาก็ได้
ที่พระองค์แสดงปฐมเทศนาธัมมจักรกัปปวัฒนสูตรให้กับปัญจวัคคี ก็ได้เหมือนกัน
การบูชาพระคุณของครู
ในทางพระพุทธศาสนามีวิธีการอย่างไร
สุดยอดของการบูชาคือการปฏิบัติบูชา ทำตามสิ่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สอนเอาไว้
หลักก็คือสำหรับพวกเราที่ครองเรือนอยู่ วิถีชีวิตชาวพุทธก็คือ ให้ทาน รักษาศีล
แล้วก็ตั้งใจเจริญสมาธิภาวนา